กิจกรรมที่ 1 คลังความรู้และคลังข้อสอบ


TCAS (Thai university Central Admission System)  คือ ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาใหม่ ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป (สามารถติดตามข่าวสารได้ทางเว็ปไซต์ของทปอ. : http://tcas.cupt.net/about.php )

ความเป็นมาของระบบ
      - รมว.ศธ. ได้มอบหมายให้ ทปอ. พิจารณาปรับรูปแบบการรับเข้าศึกษา โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ ให้นักเรียนอยู่ในห้องเรียนจนจบหลักสูตร ให้จัดการสอบเพื่อการคัดเลือกได้หลังจากนักเรียนเรียนจบหลักสูตรโดยใช้ข้อสอบของส่วนกลาง และให้มีการบริหารสิทธิ์ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย
      - ทปอ. ได้รับหลักการ โดยเสนอแนวทางการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ โดยสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย ทปอ. จำนวน 30 แห่ง ร่วมกันพิจารณากระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อต้องการให้เกิดความเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ด้วยหลักการ 3 ประการ
      - ทปอ. ราชภัฏ และ ทปอ. ราชมงคล ได้รับหลักการในการเข้าร่วมดำเนินการตามแนวทางนี้ด้วย

โครงการชี้แจงทำความเข้าใจ ระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ (TCAS)

                                                               credit : credit : http://tcas.cupt.net/calendar.php

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่



หลักการสำคัญของ TCAS มี 3 ประการ ดังนี้
      1. นักเรียนควรอยู่ในห้องเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
      2. ผู้สมัครแต่ละคนมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการตอบรับในสาขาวิชาที่เลือก เพื่อความเสมอภาค
      3. สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จะเข้าระบบ Clearing House เพื่อบริหาร 1 สิทธิ์ของผู้สมัคร


 “TCAS” มีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 65 แห่ง  รวมจำนวนรับทั้งสิ้น 278,644 คน โดยแยกเป็นการรับดังนี้ 









คลังข้อสอบ

ภาษาอังกฤษ
ภาษาไทย
สังคมศึกษา
คณิตศาสตร์
ชีวะ



เคมี
ฟิสิกส์

credit 






ใบงานที่ 4 บทความและสารคดี

ปี 2017 จะมีข่าวอวกาศอะไรน่าติดตามบ้าง

Falcon 9 Return to Flight (มกราคม 2017)

เหตุการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นในเดือนแรกของปี ก็คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการกลับมาของจรวด Falcon 9 หลังจากที่ SpaceX ต้องเลื่อนการปล่อยทุก flight ออกไป เพราะ Falcon 9 ในภารกิจส่งดาวเทียม Amos-6 เกิดการระเบิดขึ้นคาฐานปล่อย จนฐานปล่อยพัง และต้องเสียดาวเทียมกับ Falcon 9 ไป

ORBCOMM

การปล่อยในเดือนมกราคมปี 2017 จะมีทั้งหมด 2 ครั้ง (ยืนยันในตอนนี้) คือการปล่อยดาวเทียม
Flight แรก
SpaceX จะทำการปล่อยกองดาวเทียมสื่อสาร Iridium NEXT ให้กับบริษัท Iridium เป็นการ "ปล่อยดาวเทียมพร้อมกัน 10 ดวง" รวมน้ำหนักทั้งหมด 9,600 กิโลกรัม ขึ้นสู่ความสูง 780 กิโลเมตร กองดาวเทียม Iridium NEXT จะถูกปล่อยเรื่อย ๆ จนครบกองคือ 70 ดวง Falcon 9 ที่ใช้จะเป็น Falcon 9 รุ่น FT (Full thrust) ที่ปรับปรุงเล็กน้อยหลังจากการสืบหาสาเหตุการระเบิดของ Falcon 9 ในครั้งก่อน

Jason-3 Rollout

การปล่อยจะปล่อยจากฐานทัพอากาศ Vandenberg ในแคลิฟอร์เนีย เนื่องจากการออกแบบวงโคจรที่แตกต่างไปจากดาวเทียมสื่อสารดวงอื่น ๆ (Iridium NEXT จะทำงานร่วมกันหลายดวง ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้วงโคจรค้างฟ้า เพื่อกำหนด footprint ที่ชัดเจน เหมือนดาวเทียมสื่อสารอื่น ๆ)
Flight ที่สอง
ดาวเทียม EchoStar จะถูกปล่อยที่ฐานปล่อยอีกแห่งของ SpaceX ใน Kennedy Space Center ไม่ห่างจาก Cape Ceneveral Airforce Station จะเสร็จสมบูรณ์และถูกใช้งานโดย SpaceX หลังจากที่ในอดีต เคยเป็นฐานปล่อยของ "กระสวยอวกาศ" ที่ NASA ปลดระวางไปแล้ว

Pad 39A

SpaceX ได้เข้ามาปรับปรุงฐานปล่อยนี้หลายปี ก่อนจะเสร็จสิ้นทันเวลาพอดีในปี 2016 ฐานปล่อยดังกล่าวคือฐาน Launch Complex - 39A ที่เป็นฐานปล่อยประวัติศาสตร์ ผ่านการปล่อยกระสวยอวกาศมามากมายหลายครั้ง รวมถึง "การปล่อยที่พวกเขาไม่ได้กลับลงมาตลอดกาล" ของอุบัติเหตุกระสวยโคลัมเบีย ปี 2003
ในการปล่อยครั้งแรกของ SpaceX ในฐานปล่อยนี้จะเป็นการปล่อยดาวเทียม EchoStar 23 สำหรับดาวเทียมชุด EchoStar ก็เป็นดาวเทียมสำหรับให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเช่นเดียวกัน ใช้ช่วงคลื่น Ka-band เป็นหลัก



จีนส่งยานเทียนโจ่ว ยานส่งเสบียงไร้คนขับของจีน(เมษายน 2017)

หลังจากที่จีนได้ส่งสถานีอวกาศ "เทียนกง 2" ขึ้นไปแล้ว และ "เทียนกง 1 ก็จะตกลงสู่โลก" จีนได้สร้างยานรุ่นใหม่ชื่อว่ายาน เทียนโจ่ว เพื่อนำมาใช้ในภารกิจการส่งของขึ้นสู่สถานี
ปกติแล้วจีนมายานอวกาศชื่อว่า "เฉินโจ่ว" ซึ่งสามารถนำมนุษย์ขึ้นสู่สถานีอวกาศได้ และยานรุ่นนี้ก็ถูกนำมาใช้ทุกครั้งในการส่งนักบินขึ้นไปบนสถานีอวกาศของจีน

Chinese space suit in Detail

ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายน เฉินโจ่วของจีนได้ลงจอดกลับสู่โลก นำนักบินอวกาศทั้ง 3 คนที่ได้ขึ้นไปบนสถานีอวกาศเทียนกง 2 เมื่อประมาณเกือบเดือนที่ผ่านมา โดยยานได้ลงจอดด้วยระบบร่มชูชีพ ( การทำงานจะคล้าย ๆ กับโซยุส เพราะก็อป ๆ กันมา ) เป็นภารกิจการขึ้นสู่อวกาศอีกครั้งที่สำคัญของจีน



เทียนโจ่ว จะโชว์ demonstrate การเทียบกับสถานีแบบอัตโนมัติ คล้ายกับยาน Progress ของรัสเซีย และ ATV ของสหภาพยุโรป โดยจะมีการส่งยานในเดือนเมษายน 2017 ด้วยจรวด Long March 7 รุ่นเดียวกับที่ใช้ส่งยาน เฉินโจว





สุริยุปราคาครั้งประวัติศาสตร์ ที่จะเห็นเฉพาะบนแผ่นดินอเมริกาจากตะวันตกสู่ตะวันออก

(21 สิงหาคม 2017)


การเกิดครั้งนี้ถูกเรียกว่า The Great American Eclipse เป็นเหตุกาณ์ครั้งประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึก เนื่องจากการเกิดครั้งนี้จะเป็นการเกิดเต็มดวง ที่เห็นได้เฉพาะจาก ประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น โดยเงามืดจะทอดผ่านตั้งแต่ชายฝั่งด้านตะวันตกไปจนถึงด้านตะวันออก นับว่าเป็นความบังเอิญครั้งยิ่งใหญ่

เหตุกาณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี คศ.1257 และหากพลาดชมในปี 2017 จะต้องรออีก 299 ปี ถึงจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2316 เลยทีเดียว
เหตุการณ์นี้คนอเมริกันจะตื่นเต้นกันมาก แน่นอนว่าในครั้งนี้ NASA จะต้องถ่ายทอดสด และสำนักข่าวต่าง ๆ ของอเมริกาจะต้องรายงานข่าวนี้อย่างยิ่งใหญ่



ยานแคสสินีจะใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายก่อนจะจบชีวิตด้วยการดำดิ่งลงสู่ชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์

15 กันยายน 2017

ในปี 1997 เราได้ส่งยาน แคสนินี-ไฮเกนส์ ชื่อของยานลำนี้มาจากนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ถึง 2 ท่าน คือ Giovanni Cassini นักคณิตศาสตร์ อิตาเลี่ยน-ฝรั่งเศส ในยุคปี 1600s ซึ่งเป็นผู้ที่แบ่งชั้นของวงแหวนดาวเสาร์ และตั้งกฏเกี่ยวกับการโคจรของดวงจันทร์ อีกท่านหนึ่งก็คือ Christiaan Huygens นักฟิสิกส์ช่วยยุค 1600s เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นผู้ค้นพบดวงจันทร์ ไททัน และศึกษาเรื่อง การเลี้ยวเบนของคลื่น (Diffraction of Wave)
ยานไฮเกนส์ได้แยกตัวออกจากแคสสนีในค่ำคืนวันคริสต์มาสปี 2004 เพื่อไปลงจอดบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ และยังคงอยู่บนนั้นจนถึงทุกวันนี้ แม้สัญญาณจะขาดหายไปก็ตาม :: อ่านเรื่องราวของยานไฮเกนส์ ::

NASA's Cassini Spacecraft Finds Ingredient of Household Plastic in Space

ยานแคสสินี เป็นยานอวกาศรุ่นเดียวที่ถูกส่งไปโคจรรอบดาวเสาร์ มันส่งข้อมูลต่าง ๆ มาให้เรามากมาย รวมถึงการสำรวจดวงจันทร์ที่สวยที่สุดอย่า เอ็นซาราดัส ที่มีน้ำพุร้อนพวยพุ่งออกมาจากตัวมัน ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวเสาร์
แคสสินีจะใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายในการสำรวจดาวเสาร์ และภารกิจสุดท้ายของแคสสนีคือการไปบินผ่านดวงจันทร์ไททันเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อเก็บข้อมูลและบอกลายาน ไฮเกนส์ ที่พรากจากกันมาถึง 13 ปี

ในวันที่ 15 กันยายน วันสุดท้ายของยานแคสสินี ที่เรียกว่า grand finale ตัวยานจะ burn orbit รอบสุดท้ายเพื่อลดความเร็วลงและค่อย ๆ จมลงในชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์ ปิดฉากภารกิจด้วยการสละชีวิต เพื่อไม่ให้ยานไปตกใส่ดวงจันทร์อื่น ๆ เช่น ไททัน และ เอ็นซาราดัส และนำสารต่าง ๆ ที่ติดไปจากโลกไปปนเปื้อนดาว ที่ในอนาคตอาจจะเป็นเป้าหมายการสำรวจแห่งใหม่ของมนุษย์




OSIRIS-REx เตรียมใช้ Gravity Assit จากโลก เพื่อส่งตัวมันไปสู่ดาวเคราะห์น้อย Bennu

23 กันยายน 2017

ภาพรวมของภารกิจ OSIRIS-REx ในภารกิจ Astroid Sample Return ครั้งแรกของ NASA ดำเนินการโดย NASA Goddard Spaceflight Center ยานจะเดินทางไปยังดาวเคราะห์น้อยที่ชื่อว่า "Bennu" ในปี 2018 จากนั้นจะทำการวิเคราะห์ดาวเคราะห์น้อยเป็นเวลา 2 ปี จากนั้นในปี 2020 ยานจะลดความเร็วและค่อย ๆ เข้าไปเจาะเอาเนื้อดาวเคราะห์น้อย และบรรจุลงใน Capsule สำหรับส่งกลับโลกในปี 2021 และจะเดินทางมาถึงโลกในปี 2024 ตัว Capsule พร้อมตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยจะกางร่มชูชีพลงสู่พื้นอย่างนุ่มนวล (ซึ่งการลงจอดอย่างนุ่มนวลไม่เคยมีจริง NASA ทำ แผ่น sample แตกไปรอบนึงแล้วในภารกิจ Genesis แต่มโนว่าใช้งานได้)


ในวันที่ 23 กันยายน ปี 2017 ยานที่ตอนนี้โคจรรอบดวงอาทิตย์จะบินเฉียดโลกอีกครั้งหนึ่งเพื่อเร่งความเร็ว ด้วยการทำ slingshot หรือ gravity assits จากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วของยานอวกาศโดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงช่วยเร่ง


ในตอนที่ผู้เขียนเขียนอยู่นี้ ยาน OSIRIS-REx เพิ่งจะเสร็จสิ้นการ burn orbit หรือการปรับวงโคจรที่จะทำให้ยานโคตรกลับมาที่โลกอีกครั้ง




จีนจะกลับสู่ดวงจันทร์ด้วยยาน Chang'e 5 พร้อมส่งตัวอย่างหินกลับโลกคร้งแรกในรอบ 41 ปี!!

กลางปี 2017

ยานชุด Chang'e (ช่าง-เอ้อ) เป็นยานสำรวจดวงจันทร์ของจีน มีมาแล้วหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็นแบบ ลงจอดธรรมดา หรือเป็นแบบ rover แต่ในครั้งนี้ ภารกิจ Chang'e 5 จีนจะทำภารกิจแบบใหม่คือการทำ sample return นอกจากการลงจอดที่ดวงจันทร์แล้ว ยานจะเก็บตัวอย่างดินและหินจากดวงจันทร์ ใส่จรวดขนาดเล็กที่ติดอยู่บนยาน และจุดจรวดส่ง sample นั้นกลับมาที่โลก


นี่นับว่าเป็นภารกิจ moon sample return อีกครั้งหลังจากครั้งสุดท้าย ในภารกิจ Luna 24 ของโซเวียต ในสมัยสหภาพโซเวียต ปี 1976 นั่นคือ 41 ปี!!!




ทดสอบจรวดที่ทรงพลังที่สุดในโลก Falcon Heavy

กลางปี 2017

Falcon Heavy จะเป็นจรวดที่ถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของ Falcon 9 ที่จะใช้ core stage ของ Falcon 9 จำนวน 3 ลำติดกัน ทำให้ Falcon Heavy จะมีเครื่องยนต์ถึง 27 ตัว

Falcon Heavy and Dragon

แนวคิดเรื่อง Falcon Heavy นั้นมีมานานแล้วจะถูกเลื่อนการโชว์ปล่อย (demo) มานานจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ SpaceX ต้องเจอ คือเหตุระเบิดทั้ง 2 ครั้งในปี 2015 และ 2016
การปล่อย Falcon Heavy ในครั้งแรกจะเป็นการโชว์เฉย ๆ ยังไม่ปล่อยดาวเทียมอะไร แต่ถึงขนาดนั้น ก็ได้มีลูกค้าเซ็นสัญญาจอง Falcon Heavy ไว้แล้วมากมาย ส่วนมากจะเป็นผู้ให้บริการดาวเทียมขนาดใหญ่ อย่าง Intelsat และ Immarsat
Falcon Heavy จะเป็นคู่แข่งของจรวด Delta IV Heavy ของ United Launch Alliance ที่ออกแบบมาให้ส่ง payload ขนาดใหญ่เช่นกัน แต่ถ้าเทียบกันในเชิงของประสิทธิภาพและราคาแล้ว บอกได้เลยว่า Falcon Heavy คุ้มกว่าแน่ ๆ แถมยังสามารถส่งของน้ำหนักได้เยอะกว่าด้วย

Landed rockets in hangar 39A

แน่นอนว่า Falcon Heavy เป็นจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ เช่นเดียวกับ Falcon 9 เพราะมันก็คือ Falcon 9 จำนวน 3 ลำที่ผูกติดกัน แต่ละลำเมื่อถูกสลัดออก มาจะสามารถบินกลับมาลงจอดของมันเองได้




เห็นยาน Dragon 2 เต็มตามากขึ้น

กลางปี 2017

ปี 2017 จะเป็นปีมาแรงของ SpaceX นอกจาก Falcon Heavy แล้ว หากไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะได้เห็น Dragon 2 กันซักที

Crew Dragon - Pad Abort Vehicle

Dragon 2 เป็นยาน Dragon รุ่นที่ 2 ของ SpaceX มีความสามารถใหม่คือ สามารถส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่สถานีอวกาศได้ถึง 7 คน ทำให้เป็นยานอวกาศที่มีคนนั่งได้เยอะที่สุด

Crew Dragon Interior

อีกความสามารถก็คือในการลงจอด ยาน Dragon 2 จะใช้เครื่องยนต์ Super Decro Engine ในการลงจอดด้วยการเปิดไอพ่น ไม่ใช้วิธีการลงจอดแบบเดิม ๆ ด้วยร่มชูชีพ

Dragon 2 hover test

กลางปีที่ผ่านมา Dragon 2 ได้ทดสอบในเรื่องของเครื่องยนต์ และระบบดีดตัวฉุกเฉิน ที่จะดีดยานออกจากจรวดเมื่อเกิดข้อผิดพลาดให้เราได้ชมแล้ว ในปีนี้ เราจะได้เห็น Dragon 2 บ่อยขึ้น และอาจมีมีการโชว์การส่งขึ้นสู่วงโคจรอย่างเต็มรูปแบบ




กล้อง Juno Cam บนยาน Juno จะพัง

กลางถึงปลายปี 2017

ไม่ต้องตกใจเพราะมันถูกออกแบบมาให้เสียอยู่แล้ว JCM หรือ JunoCam เป็นอุปกรณ์บนยาน Juno ซึ่งทำหน้าที่กล้องถ่ายภาพในช่วงคลื่น visible light ซึ่งก็ไม่ได้ชัดเจนอะไรมากมาย เพราะงานนี้ไม่เน้นถ่ายรูป (ถ่ายจากโลกสวยกว่า)

juno arrives on orbit

กล้องจะพังเนื่องจาก สิ่งที่เรียกว่า Deep Space Network คือโดนรังสีต่าง ๆ และสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัส จนทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆ เสียหาย

The Juno Spacecraft & Instruments

แต่ไม่ต้องห่วงเนื่องจากอย่างที่บอก JunoCam เป็นแค่กล้องกาก ๆ เท่านั้น อุปกรณ์อื่นบนยานจะยังใช้งานได้ดีตามอายุภารกิจที่ออกแบบไว้ แต่เราจะไม่ได้เห็นภาพสีสวย ๆ (ไม่สวยหรอก) จากดาวพฤหัสจากยาน Juno อีก




Gyroscope บนยาน Voyager 1 จะหยุดทำงาน

กลางถึงปลายปี 2017

ปกติแล้วสิ้นส่วนที่สำคัญในการนำทางของยานอวกาศก็คือ Gyro scope ที่ใช้ร่วมกับ magnetometer หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเข็มทิศสำหรับใช้ในอวกาศนั่นเอง
โดยจะช่วยตัวยานในการ "หมุนตัว" ในแกนต่าง ๆ ซึ่งการหมุนนี้จะใช้ในการชี้เสาสัญญาณมายังโลก ซึ่งจะมีการปรับหมุนทุก 6 ปี เรียกว่าการทำ MAGROLs
การหยุดทำงานของระบบ Gyroscope นั่นหมายความว่าต่อไปนี้ยานจะไม่สามารถรักษาการชี้เสาสัญญาณมายังโลกได้อย่างแม่นยำ (แต่ก็สามารถใช้ได้บ้าง)


ยาน Voyager 1 เป็นยานอวกาศที่เก่าแก่มาก ถูกส่งขึ้นไปตั้งแต่ปี 1977 และยังคงเดินทางอยู่ กลายเป็นยานอวกาศที่เดินทางได้ไกลที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

Voyager spacecraft

ตอนนี้ยานอยู่ในชั้น Interstellar medium ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นขอบนอกของระบบสุริยะ และยานจะทำงานจนถึงปี 2025 ก่อนที่ระบบทุกอย่างจะไม่สามารถใช้การได้
แต่อย่างไรก็ตามยานจะยังเดินทางด้วยความเร็วสูงออกนอกระบบสุริยะ พร้อมกับ "แผ่นเสียงทองคำ" ที่บันทึกเรื่องราวของมนุษย์โลกติดไปด้วย เผื่อซักวันหนึ่งในเอกภพที่กว้างใหญ่แห่งนี้ จะมีใครค้นพบมันเข้า




โมดูลใหม่ขึ้นไปติดตั้งบน ISS เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี

ธันวาคม 2017

สถานีอวกาศนานาชาติ ถูกเริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 1998 ด้วยการส่งชิ้นส่วนและโมดูลต่าง ๆ ขึ้นไปติดตั้ง จนเสร็จสิ้นในปี 2011 ด้วยโมดูลชิ้นสุดท้ายคือ Leonardo (PMM) และ EXPRESS Logistics Carrier 4 การทำแบบนี้จำเป็นต้องอาศัย "กระสวยอวกาศ"

International Space Station (NASA, 09/08/09)

เนื่องจากการปลดระวางของกระสวยอวกาศ ทำให้โมดูลต่าง ๆ ไม่สามารถถูกส่งขึ้นไปติดตั้งได้ แม้ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา SpaceX จะช่วยให้ NASA ติดตั้งโมดูลทดสอบ BEAM โดยยัดไปส่วน Trunk หรือช่องว่างใต้ยาน Dragon ได้ แต่ก็นับว่าเป็นโมดูลทดสอบขนาดเล็กเท่านั้น


แต่รัสเซียเป็นผู้เชี่ยวชาญในระบบการ docking อัตโนมัติอยู่แล้ว เพราะโมดูแรก "ซายา" ก็ถูกส่งขึ้นไปด้วยจรวด Proton ของรัสเซีย และในปี 2017 จรวด Proton จะทำแบบนั้นอีกครั้งด้วยการส่งโมดูล "นูกา" แปลว่า วิทยาศาสตร์ในภาษารัสเซีย ขึ้นไปติดตั้งด้วยระบบ อัตนโนมัติ แบบเทพ ๆ โหดสัสรัสเซีย นับเป็นการติดตั้งโมดูลของสถานีครั้งแรกในรอบหลายปี ทำให้สถานีจะมีพื้นที่การทำงานที่กว้างขึ้นมาอีกนิดนึง

ใบงานที่ 3 พรบ.คอมพิวเตอร์ 2560





            พรบ. คืออะไร?



                        พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ
                        พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
                        การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
คำว่า พระราชบัญญัติ เป็นชื่อเรียกกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้อนุญาต สำหรับประเทศอื่นที่พระมหากษัตริย์ไม่ใช่ผู้อนุญาต (เช่นประธานาธิบดี) จะเรียกว่า รัฐบัญญัติ

            พรบ. คอมพิวเตอร์คืออะไร?

                        พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีเพื่อกำหนดความผิดในการกระทำที่มี“ระบบคอมพิวเตอร์” เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์นี้ เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์วางตัก คอมพิวเตอร์พกพา แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบควบคุมไฟฟ้า น้ำประปา ธนาคาร ฯลฯ    เราต่างใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แน่นอนว่าย่อมมีกลุ่มหรือบุคคลที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการกระทำความผิด หรือกระทำความผิดผ่านระบบเหล่านี้ เช่น ขโมยข้อมูล ป่วนข้อมูลและระบบให้เสียหาย การกระทำเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหม่ทุกวันนี้คนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตเป็นดังห้องสมุดขนาดใหญ่

            พรบ. คอมพิวเตอร์ 2560

(ข้อมูลข่าวจาก http://thumbsup.in.th/2017/05/14-activities-against-thai-cybercrime-act-2560/ )
จากข้อมูลที่มีการนำเสนอบนเวที Thailand Zocial Awards พบว่าพื้นที่บน Instagram ของดาราระดับแม่เหล็ก เช่น อั้ม-พัชราภา, ชมพู่ – อารยา, ใหม่-ดาวิกา ฯลฯ ซึ่งมียอดผู้ติดตามหลักล้านคนนั้น ล้วนเคยเป็นช่องทางการฝากร้านของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ จุดนี้เองที่หลายคนมองว่าเป็นการใช้พื้นที่ดังกล่าวหาประโยชน์ และสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่เจ้าของ IG พอสมควร

นั่นจึงนำมาซึ่งความน่าสนใจของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับ 2) พ.ศ.2560 ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.คอมพ์ฉบับใหม่นั้น กำหนดว่า ลักษณะการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ – อีเมลโฆษณา ที่มีลักษณะก่อความรำคาญเดือดร้อนแก่ผู้รับ และไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์ได้ เข้าข่ายถือเป็นสแปม และมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งการฝากร้านบน Facebook หรือ IG ก็เข้าข่ายการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายข้างต้นด้วย (มาตรา 11)
แต่เมื่อหันมาดูมูลค่าของตลาด E-Commerce แยกตามช่องทางการขายและอุตสาหกรรม (อ้างอิงจากงาน Thailand Zocial Awards 2017) นั้น พบว่า ในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง มูลค่าการซื้อขายบนแพลตฟอร์ม Social Media นั้นมีสูงเกือบ 270,000 ล้านบาท โดยสินค้าที่มักมีการฝากร้านตาม IG ดารา เป็นสินค้าหมวดแฟชั่น 71% หมวดสุขภาพและความงาม 22% หมวดสินค้าแม่และเด็ก 4% และหมวดอุปกรณ์ไอที 3%  นั่นจึงเป็นที่มาของคำถามว่า แล้วหลังจากนี้ รูปแบบการค้าขายบนแพลตฟอร์ม Social Media อย่าง Instagram จะประสบปัญหาหรือไม่อย่างไร


อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับนี้ก็ได้เปิดโอกาสให้รัฐมนตรีสามารถออกประกาศกำหนดลักษณะและวิธีการส่ง รวมทั้งลักษณะและปริมาณของข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ และลักษณะอันเป็นการบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่ายเอาไว้ด้วย
นั่นจึงหมายถึงว่า การออกประกาศกำหนดในลักษณะดังกล่าวเป็นประเด็นที่น่าติดตาม เพราะประกาศฉบับนี้จะเป็นตัวชี้ว่า สิ่งใดทำได้ หรือทำไม่ได้ และทำได้แค่ไหนอย่างไร นั่นเอง 
นอกจากเรื่องของการฝากร้านใน IG หรือส่งอีเมลขายของที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คอมพ์ฉบับใหม่ที่เราขอนำมาฝากกันดังนี้
  • การทำลาย แก้ไข ไม่่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนของข้อมูลคอมพิวเตอร์ผู้อื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 9)
  • การระงับ ชะลอ ขัดขวาง รบกวนระบบของผู้อื่นจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 10)
  • การโพสต์ข้อมูลที่บิดเบือน หรือปลอม จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • การโพสต์ข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือทำให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • การโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร – การก่อการร้าย จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • การกด Like ทำได้ไม่ผิด พ.ร.บ. คอมพ์ยกเว้นการกด Like ข้อมูลที่มีฐานความผิดดังที่กล่าวมาข้างต้น
  • การกด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
  • ผู้ดูแลระบบ หรือแอดมินเพจที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น เมื่อพบเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ถ้าได้รับการแจ้งเตือนแล้วลบออกไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าไม่ยอมลบออก โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ผู้ให้บริการเว็บไซต์ต้องขยายเวลาการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log) เอาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน และกรณีที่จำเป็น อาจสั่งให้ขยายเป็น 2 ปี สาเหตุที่ขยายเวลาเนื่องจากเทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลง รูปแบบการกระทำความผิดจึงอาจซับซ้อนมากขึ้น
  • การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทำให้ระบบทำงานไม่ปกติ ทำให้บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย โทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  • การโพสต์ภาพลามกและสามารถแชร์สู่ประชาชนคนอื่นได้ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  • การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
โดยในจุดที่เรานำมาฝากกันอาจเป็นพฤติกรรมการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ Social Media เป็นสำคัญ แต่ใน พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวยังมีโทษเกี่ยวกับการโจมตีระบบโดยใช้มัลแวร์ หรือการเจาะระบบผู้อื่นโดยมิชอบอยู่ด้วย ซึ่งท่านที่สนใจสามารถศึกษาได้จาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับ 2) พ.ศ.2560 เพิ่มเติมค่ะ
 

(ข้อมูลข่าวจาก http://www.nationtv.tv/main/content/social/378548999/ )
 "24 พ.ค.60 - พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้แล้วในวันนี้ (พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา)ก่อนที่กฎหมายฉบับนี้จะออกมา ได้ถูกกระแสคัดค้านอย่างหนัก โดยผู้ไม่เห็นด้วยเห็นว่าร่างกฎหมายนี้ไม่มีความชัดเจน กระทบสิทธิประชาชน ปิดกั้นการตรวจสอบ เปิดช่องไม่ต้องใช้คำสั่งศาลในการปิดเว็บไซต์ รวมทั้งอาจมีการสร้างซิงเกิ้ลเกตเวย์ฯ และทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตได้ยื่นรายชื่อประชาชน 3 แสนรายชื่อขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คว่ำร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ถึงที่สุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายนี้ด้วยเสียงเอกฉันท์

สำหรับเนื้อหาสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ เช่น กำหนดความผิดฐานส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ หรือ "ส่งสแปม" ให้มีโทษปรับ 200,000 บาท (เพิ่มจากเดิม 100,000 บาท) การให้มีคณะกรรมการกลั่นกรอง 9 คน ขึ้นมาพิจารณาและเสนอแนะต่อรัฐมนตรีว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดที่ควรจะขออนุญาตต่อศาลให้ปิดกั้นการเข้าถึง หรือ ให้ศาลสั่งบล็อคเว็บไซต์"



สรุปเป็นสาระสำคัญดังนี้

1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม

5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3

6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด

7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด

8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้

9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ

10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย

11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ

13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้




ข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 กับ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560











ใบงานที่ 2 ความรู้เรื่องบล็อก









                    Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้ง
          นี้ทั้งนั้น ทั้ง 2 คำ บ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog) โดยคำว่า weblog นั้น มาจาก
          web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) ซึ่งรวมกันหมายถึง “ปูมเว็บ” หรือ บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง
          หรือ ถ้าจะขยายความมากไปกว่านั้น Blog ก็จะหมายถึง การบันทึกบทความของตนเอง (Personal
          Journal) ลงบนเว็บไซต์ มีการจัดเรียง “เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่ด้านบนสุด ส่วนเรื่อง
          เก่าก็จะอยู่ด้านล่างสุด ซึ่งจะมีวันที่-เวลาเขียนกำกับไว้ เป็นที่นิยมกันในหมู่มาก

                    มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นแค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ความเป็นจริงแล้ว
          ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลาย และ
          ครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างไดอารี่ จนถึงการบันทึกบทความเฉพาะด้านต่างๆ
          เช่น เรื่องการเมือง เรื่องธุรกิจ เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อก เป็นที่นิยมก็คือ
          ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆ มีการสื่อสารกับผู้อ่านผ่านทาง
          ระบบ comment และมีการถ่ายทอดอย่างเป็นกันเอง โดยบล็อกบางแห่งจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้
          อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็เขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะเช่นเพื่อน หรือคนใน
          ครอบครัว Blog ให้ อิสระในการเขียนเรื่องอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้เขียน โดยจะสะท้อนบุคลิกของผู้เขียนออก
          มา ถ้าคนไหนเป็นคนตลก ก็จะเขียนออกมาได้สนุกสนาน น่าอ่าน, ใครชอบเลี้ยงสุนัขจะเล่าเรื่องสุนัขของตัว
          เอง เป็นต้น Blog มีทั้งบริการแบบเสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการให้บริการ
          ซึ่งมักจะติดตั้ง Tool ให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากนัก



           ความแตกต่างของ Blog กับ Web

                    - เว็บไซด์ทั่วๆไปนั้น จำเป็นต้องมี Server, มี Host มี Domain Name เป็นของตนเอง ซึ่งจะต้องเสีย
          ค่าใช้จ่าย แต่ในส่วนของ Blog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้แบบฟรี เพียงแต่เราต้องใช้ชื่อ Domain
          ของผู้ให้บริการนั้นๆ เช่นของ Google คือ Blogger.com - โดเมนเนม ก็จะเป็น "ชื่อBlogของคุณ"
          ต่อท้ายด้วย "blogspot.com" เช่นJoJho-Problog.blogspot.com
                    - เว็บไซด์ทั่วไปจะมีความยืดหยุ่นสูงในการออกแบบ ดีไซน์ เพราะเราต้องสร้างเองทั้งหมด (ดังนั้นจะ
          เลือกดีไซน์ยังไงก็ได้)                    - แต่ Blog จะมีการดีไซน์ในรูปแบบเฉพาะเรียกว่า Blog Teplate ซึ่งมีให้เลือกมากมาย แต่ยังคงมี
          ลักษณะโครงสร้างที่ค่อนข้างตายตัว ไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้มากตามใจชอบอย่างเว็บไซด์
                    - การสร้างเว็บไซด์ จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากพอสมควร ทั้งในส่วนของภาษา
          คอมพิวเตอร์, โปรแกรมคอมติวเตอร์ต่างๆ ความรู้เบื้องต้นในเรื่องของ Network เป็นต้น แต่ Blog เพียงรู้
          หลักในการใช้เล็กน้อยเท่านั้น ก็สามารถสร้างเว็บไซด์ได้อย่างง่ายดาย




 
          Blogger สามารถแปลได้ 2 ความหมายคือ

                    
                    1. คนเขียนบล็อก หรือเจ้าของบล็อกนั่นเอง
                    2. ระบบ update blog หรือ blog engine ที่เรียกว่า Blogger.com นั่นเอง

 



          ซึ่งสามารถประเภทจำแนกจากการใช้งานได้คร่าวๆ ดังนี้

 
                    1. บล็อกเกอร์อิสระ นักเขียนบล็อกประเภทนี้จะเขียนบล็อกของตัวเอง โดยจำกัดบล็อกของตัวเองไว้
          ว่าเป็นบล็อกส่วนตัว สำหรับเขียนเรื่องราวส่วนตัว หรือความคิดส่วนตัว โดยไม่ได้นำเสนอบล็อกของตัวเอง
          เพื่อการอย่างอื่น นอกจากการชมเพื่อความบันเทิง, ความสนุกในหมู่เพื่อนฝูง

                    2. บล็อกเกอร์แนวธุรกิจ => รับทำบล๊อกเกอร์
          นักเขียนบล็อกกลุ่มนี้ มักจะเขียนเนื้อหาของ blog ที่เป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน คือ
          ใช้ blog เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดนั่นเอง

                    3. บล็อกเกอร์แบบองค์กร บล็อกเกอร์กลุ่มนี้ จะใช้ blog เพื่อเป็นการสื่อสารภายใน ไม่ว่าจะเป็นภาย
          ในองค์กร เช่นภายในบริษัท หรือใช้สื่อสารภายในทีมฟุตบอล หรือสโมสรต่างๆ
                    4. บล็อกเกอร์มืออาชีพ บล็อกเกอร์ที่เขียนบล็อกอย่างเดียว โดยมีรายได้จากบล็อกเพื่อยังชีพ บาง
          คนได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน ให้เขียนบล็อกอย่างเดียว บางคนเขียนบล็อกของตัวเอง โดยได้รับค่าโฆษณา
          ต่างๆ จากผู้สนับสนุน กลุ่มนี้อาจเป็นบริษัทที่เขียนบล็อกโดยเฉพาะ ที่เห็นชัดเจนก็คือ blogger ชาวต่าง
          ประเทศ เพราะเขียนให้คนอ่านมากๆ แล้วใช้โฆษณาของ Google Adsense มาติดไว้ บางคนมีก็รายได้จาก
          การเป็น presenter ให้สินค้าต่างๆ




          วิธีการสร้างบล็อก (**รูปวิธีการสร้างบล็อกเจ้าของบล็อกสร้างขึ้นเองจึงไม่มีเครดิต)
                    1. เข้าสู่เว็ปไซต์ www.blogger.com
 credit : me

                     2. เลือก CREATE YOUR BLOG เพื่อสร้างบล็อก


 credit : me


                    3.ใช้อีเมลในการสมัครบล็อก



 credit : me


 credit : me


                    4.เลือก CREATE NEW BLOG



 credit : me


                    5.ตั้งชื่อบล็อกและที่อยู่บล็อก

                    
 credit : me


                    6.เลือก NEW POST เพื่อสร้างโพสต์



 credit : me



                    7.ตกแต่งโพสต์ บันทึก และแชร์



 credit : me


 credit : me


                     8.สามารถดู แก้ไข แชร์และลบโพสต์ได้



 credit : me


                    9.หน้าโพสต์ที่สร้าง



  credit : me
  
           วิธีการตกแต่งบล็อก


                    การเปลี่ยนธีมบล็อก  เลือก ธีม > เลือกธีมที่ต้องการหรือเลือกปรับแต่งเพื่อกำหนดธีมเอง

 


                    ปรับแต่งธีมเอง เมื่อเลือปรับแต่งแล้วสามารถเปลี่ยนธีม ภาพพื้นหลัง แกตแจ็ตได้ตามต้องการ
 วิดีโอการสร้างบล็อก และการตกแต่งบล็อก