ใบงานที่ 3 พรบ.คอมพิวเตอร์ 2560





            พรบ. คืออะไร?



                        พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ
                        พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
                        การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
คำว่า พระราชบัญญัติ เป็นชื่อเรียกกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้อนุญาต สำหรับประเทศอื่นที่พระมหากษัตริย์ไม่ใช่ผู้อนุญาต (เช่นประธานาธิบดี) จะเรียกว่า รัฐบัญญัติ

            พรบ. คอมพิวเตอร์คืออะไร?

                        พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีเพื่อกำหนดความผิดในการกระทำที่มี“ระบบคอมพิวเตอร์” เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์นี้ เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์วางตัก คอมพิวเตอร์พกพา แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบควบคุมไฟฟ้า น้ำประปา ธนาคาร ฯลฯ    เราต่างใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แน่นอนว่าย่อมมีกลุ่มหรือบุคคลที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการกระทำความผิด หรือกระทำความผิดผ่านระบบเหล่านี้ เช่น ขโมยข้อมูล ป่วนข้อมูลและระบบให้เสียหาย การกระทำเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหม่ทุกวันนี้คนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตเป็นดังห้องสมุดขนาดใหญ่

            พรบ. คอมพิวเตอร์ 2560

(ข้อมูลข่าวจาก http://thumbsup.in.th/2017/05/14-activities-against-thai-cybercrime-act-2560/ )
จากข้อมูลที่มีการนำเสนอบนเวที Thailand Zocial Awards พบว่าพื้นที่บน Instagram ของดาราระดับแม่เหล็ก เช่น อั้ม-พัชราภา, ชมพู่ – อารยา, ใหม่-ดาวิกา ฯลฯ ซึ่งมียอดผู้ติดตามหลักล้านคนนั้น ล้วนเคยเป็นช่องทางการฝากร้านของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ จุดนี้เองที่หลายคนมองว่าเป็นการใช้พื้นที่ดังกล่าวหาประโยชน์ และสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่เจ้าของ IG พอสมควร

นั่นจึงนำมาซึ่งความน่าสนใจของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับ 2) พ.ศ.2560 ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.คอมพ์ฉบับใหม่นั้น กำหนดว่า ลักษณะการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ – อีเมลโฆษณา ที่มีลักษณะก่อความรำคาญเดือดร้อนแก่ผู้รับ และไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์ได้ เข้าข่ายถือเป็นสแปม และมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งการฝากร้านบน Facebook หรือ IG ก็เข้าข่ายการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายข้างต้นด้วย (มาตรา 11)
แต่เมื่อหันมาดูมูลค่าของตลาด E-Commerce แยกตามช่องทางการขายและอุตสาหกรรม (อ้างอิงจากงาน Thailand Zocial Awards 2017) นั้น พบว่า ในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง มูลค่าการซื้อขายบนแพลตฟอร์ม Social Media นั้นมีสูงเกือบ 270,000 ล้านบาท โดยสินค้าที่มักมีการฝากร้านตาม IG ดารา เป็นสินค้าหมวดแฟชั่น 71% หมวดสุขภาพและความงาม 22% หมวดสินค้าแม่และเด็ก 4% และหมวดอุปกรณ์ไอที 3%  นั่นจึงเป็นที่มาของคำถามว่า แล้วหลังจากนี้ รูปแบบการค้าขายบนแพลตฟอร์ม Social Media อย่าง Instagram จะประสบปัญหาหรือไม่อย่างไร


อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับนี้ก็ได้เปิดโอกาสให้รัฐมนตรีสามารถออกประกาศกำหนดลักษณะและวิธีการส่ง รวมทั้งลักษณะและปริมาณของข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ และลักษณะอันเป็นการบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่ายเอาไว้ด้วย
นั่นจึงหมายถึงว่า การออกประกาศกำหนดในลักษณะดังกล่าวเป็นประเด็นที่น่าติดตาม เพราะประกาศฉบับนี้จะเป็นตัวชี้ว่า สิ่งใดทำได้ หรือทำไม่ได้ และทำได้แค่ไหนอย่างไร นั่นเอง 
นอกจากเรื่องของการฝากร้านใน IG หรือส่งอีเมลขายของที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คอมพ์ฉบับใหม่ที่เราขอนำมาฝากกันดังนี้
  • การทำลาย แก้ไข ไม่่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนของข้อมูลคอมพิวเตอร์ผู้อื่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 9)
  • การระงับ ชะลอ ขัดขวาง รบกวนระบบของผู้อื่นจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 10)
  • การโพสต์ข้อมูลที่บิดเบือน หรือปลอม จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • การโพสต์ข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือทำให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • การโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร – การก่อการร้าย จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • การกด Like ทำได้ไม่ผิด พ.ร.บ. คอมพ์ยกเว้นการกด Like ข้อมูลที่มีฐานความผิดดังที่กล่าวมาข้างต้น
  • การกด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
  • ผู้ดูแลระบบ หรือแอดมินเพจที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น เมื่อพบเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ถ้าได้รับการแจ้งเตือนแล้วลบออกไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้าไม่ยอมลบออก โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ผู้ให้บริการเว็บไซต์ต้องขยายเวลาการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log) เอาไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน และกรณีที่จำเป็น อาจสั่งให้ขยายเป็น 2 ปี สาเหตุที่ขยายเวลาเนื่องจากเทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลง รูปแบบการกระทำความผิดจึงอาจซับซ้อนมากขึ้น
  • การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทำให้ระบบทำงานไม่ปกติ ทำให้บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย โทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  • การโพสต์ภาพลามกและสามารถแชร์สู่ประชาชนคนอื่นได้ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  • การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
โดยในจุดที่เรานำมาฝากกันอาจเป็นพฤติกรรมการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ Social Media เป็นสำคัญ แต่ใน พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวยังมีโทษเกี่ยวกับการโจมตีระบบโดยใช้มัลแวร์ หรือการเจาะระบบผู้อื่นโดยมิชอบอยู่ด้วย ซึ่งท่านที่สนใจสามารถศึกษาได้จาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับ 2) พ.ศ.2560 เพิ่มเติมค่ะ
 

(ข้อมูลข่าวจาก http://www.nationtv.tv/main/content/social/378548999/ )
 "24 พ.ค.60 - พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้แล้วในวันนี้ (พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา)ก่อนที่กฎหมายฉบับนี้จะออกมา ได้ถูกกระแสคัดค้านอย่างหนัก โดยผู้ไม่เห็นด้วยเห็นว่าร่างกฎหมายนี้ไม่มีความชัดเจน กระทบสิทธิประชาชน ปิดกั้นการตรวจสอบ เปิดช่องไม่ต้องใช้คำสั่งศาลในการปิดเว็บไซต์ รวมทั้งอาจมีการสร้างซิงเกิ้ลเกตเวย์ฯ และทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตได้ยื่นรายชื่อประชาชน 3 แสนรายชื่อขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คว่ำร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ถึงที่สุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายนี้ด้วยเสียงเอกฉันท์

สำหรับเนื้อหาสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ เช่น กำหนดความผิดฐานส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ หรือ "ส่งสแปม" ให้มีโทษปรับ 200,000 บาท (เพิ่มจากเดิม 100,000 บาท) การให้มีคณะกรรมการกลั่นกรอง 9 คน ขึ้นมาพิจารณาและเสนอแนะต่อรัฐมนตรีว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดที่ควรจะขออนุญาตต่อศาลให้ปิดกั้นการเข้าถึง หรือ ให้ศาลสั่งบล็อคเว็บไซต์"



สรุปเป็นสาระสำคัญดังนี้

1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม

5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3

6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด

7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด

8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้

9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ

10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย

11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ

13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้




ข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 กับ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560